ติวสอบเข้าโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น เรียนพิเศษที่บ้าน
ประวัติโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
พุทธศักราช 2507 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนแบบจัดการศึกษาให้มีระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.1-3) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.4-5) แทนการจัดการเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษา (ม.7-8) แบบเดิม จึงได้มีการก่อตั้งโรงเรียนโครงการมัธยมศึกษาแบบประสมขึ้นแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น อาศัยสถานที่ของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนเป็นสถานที่ในการจัดการศึกษาชั่วคราว โดยรับนักเรียน ม.ศ.1 ทั้งหญิงและชาย กระทั่งปีการศึกษา 2511 จึงได้ย้ายออกไปก่อตั้งเป็นโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยในปัจจุบัน
พ.ศ. 2512 ขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้มากขึ้นตามแผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 รวมทั้งได้มีการกำหนดเปลี่ยนแปลงการใช้อักษรย่อปักเสื้อของนักเรียนจากที่ปัก ข.ก.1 ให้เป็น ข.ก. ซึ่งใช้ปักบนเสื้อนักเรียนจนประทั่งปัจจุบัน มีการปรับปรุงและก่อสร้างสิ่งต่างๆ ในโรงเรียนมากมาย และยังคงอยู่ในสถานศึกษาจนปัจจุบัน เช่น มีการก่อสร้างอาคาร 3 ราวปีพุทธศักราช 2518 อาคาร 1 ราวปีพุทธศักราช 2521 โดยการแลกเปลี่ยนที่ดินกับสัสดีจังหวัด โดยแลกเปลี่ยนที่ดินบริเวณบ้านพักครู ภารโรง ถนนหลังเมือง เยื้องวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นปัจจุบันกับพื้นที่บริเวณแนวจากอาคาร 3 จดโรงแรมแก่นอินน์ เป็นต้น นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่ ระดับ 5 (ม.ศ.4-5) ภายในบริเวณโรงเรียน ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนผู้ใหญ่ขอนแก่นวิทยายน" อาคารที่ตั้งอยู่บริเวณอาคาร 85 ปี (อาคารห้องสมุด) ในปัจจุบัน และยังมีการปรับปรุงชั้นเรียนใหม่ตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ กำหนดระบบการจัดชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (ม.1-3) และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (ม.4-6)
พ.ศ. 2523 ได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 424 ค. เป็นห้องเรียน 20 ห้อง ห้องพักครู 4 ห้อง ซึ่งก็คือ อาคาร 2 ในปัจจุบัน รวมทั้งใน พ.ศ. 2525 ได้มีการก่อสร้างอาคารในวาระครบรอบ 85 ปีของการก่อตั้งโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นอาคารห้องสมุดและห้องโสตทัศนูปกรณ์
พ.ศ. 2532 โรงเรียนเริ่มรับนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาของกรมสามัญศึกษา (ชื่อในขณะนั้น) มาใช้ในการบริหาร โรงเรียนจึงได้มีการขยายห้องเรียนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2533-2538 ทำให้ในปีการศึกษา 2538 จำนวนนักเรียนได้ขยายเป็นระดับชั้นละ 18 ห้องเรียน รวม 108 ห้องเรียน ซึ่งถือเป็นการเปิดรับนักเรียนที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
พ.ศ. 2538 เป็นช่วงที่มีการริเริ่มปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งโรงเรียนได้นำนโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติเกิดผลเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาในหลายๆ ด้าน กระทั่งโรงเรียน ได้รับรางวัลพระราชทานประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
สัญลักษณ์เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
พ.ศ. 2543 มีการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน เน้นการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา เน้นการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนและห้องเรียนต้นแบบอย่างต่อเนื่อง ได้มีการริเริ่มโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โดยจัดชั้นเรียนสองห้องในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายให้เป็นห้องเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted) และดำเนินนโยบายจัดตั้งโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) และมีการปรบปรุงภูมิทัศน์ในโรงเรียนมากมาย อาทิ การก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์ อาคารวิทยบริการ อาคาร 4 อาคาร 5 อาคาร 8 และอาคารโรงฝึกงาน การปรับปรุงสนามกีฬาฟุตบอลให้ร่มรื่นมากขึ้น การปรับปรุงหอประชุมโรงเรียน สถานที่พักผ่อนรอบสนามกีฬาฟุตบอล เป็นต้น ใน พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้รับรางวัลดีเด่นระดับประเทศ ในการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และใน พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษารอบที่ 2 ของ สมศ.
ตราประจำโรงเรียน:ประกอบด้วยคบเพลิง เปลวไฟ 3 สี แสดงสีสัญลักษณ์ของโรงเรียนที่ฐานประกอบด้วยคติพจน์ของโรงเรียน “สุวิชาโน ภวํโหติ”และแถบริบบิ้นปรากฏชื่อโรงเรียน “โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน”
คติพจน์ของโรงเรียน : สุวิชาโน ภวํโหติ (ผู้มีความรู้ดี คือผู้เจริญ)
ปรัชญาของโรงเรียน : ความรู้ดี มีจรรยา กีฬาเด่น ดนตรีดัง
สีประจำโรงเรียน : ชมพู-ฟ้า-เหลือง
สีประจำโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน มีที่มาจากการประชุมคณะครูโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน เมื่อปีพุทธศักราช 2480 นายคำบ่อ เดชกุญชร ครูใหญ่ ได้เรียกประชุมคณะครูของโรงเรียนและขอความเห็นจากที่ประชุมว่า ในการแข่งขันกีฬาต่างๆของโรงเรียนนั้นควรจะมีสีธงหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยว่าควรจะมี ครูใหญ่จึงถามต่อไปว่าควรจะใช้กี่สีและสีอะไร ที่ประชุมได้ถกเถียงกันและได้ข้อสรุปว่าให้ใช้ 3 สี และตัดสินใจให้ใช้สี “ชมพู” ซึ่งเป็นสีประจำโรงเรียนฝึกหัดครูสวนกุหลาบ “ฟ้า” ซึ่งเป็นสีแทนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น และ “เหลือง”ซึ่งเป็นสีประจำโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ เหตุที่ใช้สีของสองสถาบันนี้เนื่องมาจาก ครูโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนส่วนใหญ่ในขณะนั้นได้รับการศึกษาจากสองสถาบันนั้น
สีชมพู หมายถึง ความรัก ความอบอุ่น
สีฟ้า หมายถึง ความร่าเริงแจ่มใส
สีเหลือง หมายถึง ความมีอิสระเสรีภาพทางวิชาการ
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน: พระพุทธสุวรรณมหามงคล
โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน KKW
@Khonkaenwittayayon · การศึกษา
TutorBento.com รับสอนพิเศษที่บ้าน ครูสอนพิเศษ สอนพิเศษตัวต่อตัว ด้วยทีมติวเตอร์คุณภาพ
สมัครเรียนพิเศษที่บ้าน https://bit.ly/33zhwlN
สมัครเป็นติวเตอร์กับเรา https://bit.ly/3tAxUNL
สนใจเรียนพิเศษที่บ้าน ครูสอนพิเศษ สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว สนใจหาครูสอนพิเศษ สนใจกวดวิชา
สนใจติวเตอร์สอนตัวต่อตัว สนใจติวเตอร์สอนที่บ้าน Click