ติวสอบเข้าโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ เรียนตัวต่อตัว
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2432 และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพายัพ หรือโรงเรียนตัวอย่างประจำ ภาคเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2442 ตามพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการขยายการศึกษาออกสู่หัวเมือง เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการ ศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติโดยได้ออก"ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง" เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ความว่า
…ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดแต่ความประพฤติชอบ และการเลี้ยงชีวิตโดยชอบเป็นที่ตั้ง ครั้นทั้งหลายจะประพฤติชอบ แลจะหาเลี้ยงชีวิตโดยชอบนั้นเล่า ก็ย่อมอาศัยการได้ศึกษาวิชา ความรู้ ในทางที่จะให้บังเกิดประโยชน์ มาแต่ย่อมเยาว์ และฝึกซ้อมสันดานให้น้อยในทางสัมมาปฏิบัติและเจริญปัญญา สามารถในกิจการต่างๆ อันเป็นเครื่องประกอบการหาเลี้ยงชีพเมื่อเติบใหญ่ จึงเชื่อว่าได้เข้าสู่ทางความเจริญ… บัดนี้การฝึกสอนในกรุงเทพฯเจริญแพร่หลายมากขึ้นแล้ว สมควรจะจัดการฝึกสอนให้หัวเมืองได้เจริญขึ้นตามกัน…
สำหรับเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ของมณฑลพายัพนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระราชประสงค์ จะให้จัดเป็นโรงเรียนตัวอย่างและฝึกอบรมกุลบุตรกุลธิดา ให้รู้ธรรมเนียมการหนังสือ และฝึกหัดลายมือ ให้ใช้เป็นเสมียนได้ วิชาคิดเลขและวิชาช่างที่เป็นประโยชน์ และธรรมเนียมต่างๆ ที่เป็นคุณแก่แผ่นดิน ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ก็ยังมีพระราชประสงค์จะปลูกฝังคุณสมบัติ ให้นักเรียนเป็นคนขยันขันแข็ง สะอาดทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ซื่อสัตย์สุจริตมีอุปนิสัยใจคอดี และเป็นพลเมืองดีในที่สุด
เมื่อแรกเริ่มก่อตั้งนั้น โรงเรียนมีที่ตั้งอยู่ที่ศาลากลางสวน ในจวนของพระยานริศรราชกิจ (สาย โชติกเสถียร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพในขณะนั้น ลักษณะการก่อตั้งโรงเรียนเป็นไปตามแนวพระดำริ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ต้องการให้โรงเรียนหลวงตั้งอยู่ริมจวนข้าหลวง หรือในวัด ที่อยู่ไกล้จวนข้าหลวง เพื่อจะได้ช่วย เป็นธุระดูแลและให้ครูได้ตั้งใจสั่งสอนนักเรียน โรงเรียนหลวงที่ตั้งขึ้นมีจุดประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เพื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่าง แก่โรงเรียนอื่นๆ ในเมืองเชียงใหม่ จึงมีชื่อเป็นที่รู้จักของคนสมัยนั้นว่า โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ หรือโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพายัพ เริ่มต้นจากการสอนภาษาพื้นเมือง ภาษาไทย และวิชาชีพต่างๆ รวมทั้งการอบรมความประพฤติ ให้รู้จักรับผิดชอบ ในระยะแรกเริ่มนั้นจัดการศึกษาเป็นแบบสหศึกษา มีนักเรียนชาย หญิง พระภิกษุ สามเณร เรียนรวมกัน มีขุนอุปกรณ์ศิลปศาสตร์ ข้าหลวงธรรมการมณฑล เป็นครูใหญ่คนแรก
โรงเรียนหลวงประจำมณฑลพายัพ ซึ่งระยะแรกตั้งอยู่ที่ศาลากลางสวน ในจวนของข้าหลวงใหญ่ เริ่มมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ขยายที่เรียนมาอยู่ที่โรงละคร ของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 เมื่อปี พ.ศ. 2444 แต่ภายหลังการศึกษาเพื่อให้เกิดความผสมผสานกลมกลืนกันในชาติ โดยใช้วิธีสอนหนังสือไทยกลางให้เหมือนกันทั่วประเทศ และเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ในมณฑลพายัพต่างสนับสนุนการจัดการศึกษาของรัฐบาลอย่างดี สำหรับเมืองเชียงใหม่นั้น เจ้าอินทวโรรสสุริยวงค์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้สนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อสอนภาษาไทยชั้นสูง โดยได้บริจาคที่ดิน คือที่ดินตำบลสี่แยกถนนวโรรส ในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ความยาว 37 วา 2 ศอก ความกว้าง 19 วา 2 ศอก และยกโรงเรือนซึ่งเป็นโรงละครเดิมจำนวน 1 หลัง ประกอบด้วยเสาไม้แก่นมีเครื่องบน และพื้นไม้จริงเพื่อให้สร้างโรงเรียนต่อไป สำหรับตัวอาคารของโรงเรียนหลังแรกนี้ ได้วางรูปแบบเป็นรูปทรงปั้นหยา มี 9 ห้อง มีขนาดความยาว 17 วา 2 ศอก ความกว้าง 6 วา มีเรือนโถงต่อจากเรือนเดิม เพื่อใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ รวม 4 ด้าน การก่อสร้างทำได้ถึงขั้นสร้างโครง และติดเครื่องบนแต่เนื่องจากขาดทุนทรัพย์การก่อสร้างโรงเรียน จึงหยุดชะงักไปชั่วคราว
ปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาสุรสีห์ วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)ขึ้นมารับราชการตำแหน่ง ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ โดยเฉพาะทางด้านการศึกษานั้น พระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์พยายามดำเนินการทุกวิถีทางในอันที่จะใช้ "การศึกษาแผนใหม่" เป็นเครื่องช่วยในการปฏิรูป มณฑลพายัพ โดยเริ่มจากการสร้างโรงเรียน ท่านได้มอบหมายให้ขุนอุปกรณ์ศิลปศาสตร์ ข้าหลวงธรรมการมณฑลพายัพ เป็นหัวหน้าบอกบุญเรี่ยรายเงิน จากเจ้านายฝ่ายเหนือและข้าราชการมณฑล ได้เงินจำนวนมาก การก่อสร้างโรงเรียนที่ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงค์ได้ก่อสร้างค้างไว ้จึงได้เริ่มดำเนินการต่อ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2448 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ครั้งยังดำรงพระอิสริยศเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช สยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จประพาสมณฑลพายัพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ดังความปรากฏในลิลิตพายัพ ความว่า "…ครั้นรุ่งขึ้นพระองค์ทรงรัถยานขับรี่ สู่ที่ตั้งโรงเรียน อ่านเขียนหนังสือสยาม เล่าบ่นตามกำหนด หมดทั้งเลขวิทยา ราชาทอดพระเนตรเสร็จ ผันพักตร์เสด็จโดยบาท สู่อาวาสเจดีย์หลวง…" ในการเสด็จประพาสมณฑลพายัพครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรด พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 500 บาท สมทบการสร้างโรงเรียน และได้พระราชทานนามโรงเรียน ที่ก่อสร้างใหม่ว่า โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งมีความหมายว่าเป็นโรงเรียนของสมเด็จพระยุพราช นั่นเอง
ตราประจำประจำโรงเรียน : รูปช้างในเรือนแก้ว มีอักษรย่อ ย.ว. อยู่ด้านบน มีรัศมีกระจายโดยรอบ ด้านล่างเป็นแถบโค้งชื่อโรงเรียน เหนือแถบเป็นคำบาลีปรัชญาของโรงเรียน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Yupparaj Wittayalai school
คำขวัญ : เรียนให้เด่น เล่นให้ดี มีศีลธรรม
ปรัชญาของโรงเรียน : สจฺจ วาจา คตา สจฺจ สามคฺคี พลวา พล
วาจาสัตย์นำไปสู่ความจริงความจริง สามัคคีคือพลังอันยิ่งใหญ่
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา : สามัคคี เป็นคนดีของสังคม
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา : ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ
สีประจำโรงเรียน : สีบานเย็น ซึ่งเป็นสีประจำมณฑลพายัพ
ธงประจำโรงเรียน : พื้นสีบานเย็น มีตราประจำโรงเรียนอยู่กลางผืนธง
ดอกไม้ประจำโรงเรียน : ชงโค ซึ่งมีดอกสีบานเย็น
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่(facebook)
@Yupparaj · โรงเรียน
TutorBento.com รับสอนพิเศษที่บ้าน ครูสอนพิเศษ สอนพิเศษตัวต่อตัว ด้วยทีมติวเตอร์คุณภาพ
สมัครเรียนพิเศษที่บ้าน https://bit.ly/33zhwlN
สมัครเป็นติวเตอร์กับเรา https://bit.ly/3tAxUNL
สนใจเรียนพิเศษที่บ้าน ครูสอนพิเศษ สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว สนใจหาครูสอนพิเศษ สนใจกวดวิชา
สนใจติวเตอร์สอนตัวต่อตัว สนใจติวเตอร์สอนที่บ้าน Click