ติวเข้าโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล ปัตตานี ครูสอนพิเศษ
ประวัติโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล
คำว่า
เดชะ : เป็นคำที่ตัดย่อมาจากนาม พระยาเดชานุชิต สุหเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน
ปัตตนยานุกูล : เกิดจากการสนธิกันของคำว่าปัตตานีซึ่งมีความหมาย สถานที่ ตั้งกับคำว่า อนุกูล หมายถึง การให้ความ ช่วยเหลือ โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล เดิมมีชื่อเรียกกันว่า “โรงเรียนสตรีมณฑลปัตตานี” ผู้ที่ริเริ่มตั้งโรงเรียนนี้ คือ คุณหญิงเดชานุชิต ภรรยาของมหาอำมาตย์ตรี พระยาเดชานุชิตสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลปัตตานี ในขณะนั้นซึ่งชาวเมืองปัตตานีรู้จักคุณหญิงเดชานุชิต ในนามคุณหญิงแหม่ม ในสมัยมณฑลปัตตานีมีโรงเรียนแห่งเดียวคือ “โรงเรียนตัวอย่างมณฑล”ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเบญจมราชูทิศจังหวัดปัตตานี
ดัง นั้นทั้งนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง และนักเรียนหญิงต้องมาเรียนรวมกัน ที่โรงเรียนตัวอย่างมณฑล สมัยนั้นหาครูสตรีมาสอนค่อนข้างยากจึงมีนักเรียนมาเรียนน้อยมีมาสมทบเรียน ที่โรงเรียนตัวอย่างมณฑล เพียงไม่กี่คนเท่านั้นต่อมาผู้ปกครองเริ่มเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงยอม ให้นักเรียนหญิงเข้าเรียนมากขึ้น คุณหญิงแหม่ม มองเห็นว่าควรจะแยกโรงเรียนสำหรับสตรีโดยเฉพาะ จึนได้ชักชวนข้าราชการ พ่อค้า คหบดี และประชาชน ในจังหวัดปัตตานีสมัยนั้น มาร่วมกันตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น
ใน ระยะเวลาแรกต้องใช้บ้านพักสำหรับข้าราชการต่างมณฑล ซึ่งอยู่ใกล้จวนสมุหเทศาภิบาล เป็นสถานที่เรียนเริ่มเปิด โรงเรียนสำหรับสตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ 2456 มี “คุณใหญ่” ซึ่งเป็นบุตรีของคุณหญิงนิ่มกับมหาอำมาตย์ตรี พระยาเดชานุชิต เป็นครูสอนในสมัยนั้น “คุณใหญ่”(นวม)เรียนสำเร็จมาจากโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟ คอนแวนต์ กรุงเทพฯ ในสมัยนั้น มีขุนพิบูย์พิทยาพรรค เป็นธรรมการจังหวัดปัตตานี และมีมหาอำมาตย์เอก
พระยา วิสุทธสุริยศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการโรงเรียนสตรีมณฑลปัตตานี ได้เปิดสอนอย่างไม่เป็นทางการ อยู่เดือนกว่าๆ จึงได้เปิดสอนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ 2456 จัดการเรียนการสอน โดยอาศัยที่ของรัฐบาลหลายแห่งเป็นสถานที่เรียนจนกระทั่งถึง พ.ศ 2465 พระยาเดชานุชิต และคุณหญิงแหม่ม จึงได้หาเงินมาสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนให้เป็นการถาวร โดยได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ พ่อค้า คหบดีของจังหวัดปัตตานีเป็นอย่างดี
โรงเรียนสตรีมณฑลปัตตานีจึงได้มีสถานที่เรียนเป็นการถาวร ที่ ถนนสะบารัง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระยาเดชานุชิต และคุณหญิงแหม่ม ได้ขอให้กระทรวงธรรมการในสมัยนั้นเป็นผู้ตั้งชื่อของโรงเรียนใหม่ ดังมีรายละเอียดปรากฏใน หนังสือราชการที่พระยาเดชานุชิตสมุหเทษาภิบาลมณฑลปัตตานี มีไปถึง เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มาตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม พ.ศ. 2465 มีใจความตอนหนึ่งว่า ด้วยโรงเรียนสตรีมลฑลปัตตานี ได้เริ่มเปิดสอนมาครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ.2465 อาศัยสถานที่เรียนของรัฐบาลหลายแห่งเป็นที่สั่งสอน คุณหญิงเดชานุชิต ผู้อุปการะได้ตั้งใจที่จะขยายสถานที่ให้เป็นที่สง่าผ่าเผย กว้างขวางสืบไป จึงได้เริ่มบอกบุญแก่บรรดาข้าราชการ ราษฏรในมณฑลปัตตานี ได้เงินเป็นก้อนหนึ่ง แต่หาพอกับการปลูกสร้างไม่ จึงได้จ่ายเงินบำรุงการศึกษา ที่มีเหลืออยู่รวมกันเข้าได้เงิน 125,000 บาท ว่าจ้างช่างรับเหมาปลูกสร้างขึ้นเป็นรูปตึก 2 ชั้น ขนาดกล้าง 10 เมตร ยาว 14 เมตร แบ่งเป็นห้องเรียน 8 ห้อง
บัดนี้โรงเรียนหลังนี้ได้ปลูกสร้างจวนจะเสร็จอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจะกำหนดเปิดและทำบุญฉลองในราวต้น ตุลาคม พ.ศ. 2465 ข้าพเจ้าและท่านผู้มีอุปการะประสงค์จะให้มีชื่ออันเป็นมงคลแก่ตึกหลังนี้ เพื่อเป็นเกียรติประวัติ การสืบไปเพราะฉะนั้นข้าพเจ้าขอความกรุณาเป็นที่พึ่งขอให้กระทรวงธรรมการตั้ง นามตึกอันเป็น โรงเรียนสตรีนี้ต่อไปด้วย….เสนาบดีกระทรวงธรรมการ คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ให้ชื่อโรงเรียนสตรีแห่งนี้ชื่อว่า “เดชะปัตตนยานุกูล” ทั้งนี้เพื่อนเป็นอนุสรณ์แก่พระยาเดชานุชิตและคุณหญิงแหม่มในฐานะที่เป็นผู้ ริเริ่มก่อตั้งและเป็นผู้อุปการะโรงเรียนมาโดยตัดเอาคำ”เดชา” ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมาและมีขุนวิลาศจรรยา (นายทองสุข สุขพลินท์) เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2472 จนถึง พ.ศ. 2486 กรมสามัญศึกษาได้ตั้งงบประมาณ ให้จัดสร้าง โรงเรียนแห่งนี้ใหม่ นายชาติ บุญยรัตพันธ์ ผู้ว่าราชการจัดหวัดปัตตานีในสมัยนั้นได้เอาที่ดินราชพัสดุเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 6 ตารางวา เป็นที่ตั้งโรงเรียน
ส่วน งบประมาณที่ได้จากกรมสามัญศึกษาก็ได้นำไปซื้อที่ดินเพิ่มเติมจากเอกชนที่ ติดต่อกับที่คิดนั้น รวมเป็นเนื้อที่ ทั้งหมด 19 ไร่ 2 งาน 4/10 ตารางวา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล ในปัจจุบันโรงเรียนสตรีปัตตานี เดชะปัตตนยานุกูล สอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเท่านั้น ชาย และมีโครงการจะเปิด เป็นโรงเรียนสหศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งถึง พ.ศ. 2521 ในสมัยที่นางสาวลิ้มลออ จงดี เป็นผู้อำนวยการ โรงเรียนร่วมกับคณะครูและผู้ปกครองได้เสนอตัดคำว่า “สตรีปัตตานี” ออกไป เพื่อให้ ถูกต้องตามความเป็นจริง โดยกระทรวงศึกษาได้อนุญาตให้โรงเรียนรับนักเรียนชายในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1
เครื่องหมายประจำโรงเรียน : เป็นรูปคบเพลิงส่องสว่างอยู่เหนืออักษรย่อและชื่อของโรงเรียน
อักษรย่อ : " ช.ป.น. "
ชื่อภาษาอังกฤษ : Dechapattanayanukul School
คติพจน์ : สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
คำขวัญ : เรียนดี วินัยเด่น บำเพ็ญประโยชน์
สีประจำโรงเรียน : เขียว–เหลือง หมายถึง สีที่ทำให้เกิดความร่มรื่นก่อเกิดแสงสว่างคือ ปัญญา
สีเขียว หมายถึง ความเจริญเติบโต และ ความร่มรื่น สดชื่น
สีเหลือง หมายถึง แสงสว่างและปัญญา
ดอกไม้ประจำโรงเรียน : ดอกบานบุรี
TutorBento.com รับสอนพิเศษที่บ้าน ครูสอนพิเศษ สอนพิเศษตัวต่อตัว ด้วยทีมติวเตอร์คุณภาพ
สมัครเรียนพิเศษที่บ้าน https://bit.ly/33zhwlN
สมัครเป็นติวเตอร์กับเรา https://bit.ly/3tAxUNL
สนใจเรียนพิเศษที่บ้าน สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว สนใจหาครูสอนพิเศษ สนใจกวดวิชา
สนใจติวเตอร์สอนตัวต่อตัว สนใจติวเตอร์สอนที่บ้าน Click
Download ข้อสอบ O-NET ป6
Download ข้อสอบ O-NET ม3
Download ข้อสอบ O-NET ม6
Download ข้อสอบ 9วิชาสามัญ
Download ข้อสอบ PAT